เมทัลชีท คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี เหมาะสำหรับงานภายในและงานภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา เมทัลชีทมีคุณสมบัติที่เด่นชัด คือ สามารถสั่งผลิตตามขนาดความวาวของหลังคาได้ ทำให้เกิดรอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหาการรั่วซึมจึงน้อยกว่าหลังคากระเบื้องทั่วไป ยังช่วยให้การติดตั้งหลังคา สามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา ช่วยลดต้นทุนและค่าแรงก่อสร้างและค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันแผ่นเมทัลชีทมีให้เลือกใช้กันหลายรุ่น หลายเกรด และหลายราคา การนำมาใช้ร่วมกันกับบ้านจึงจำเป็นต้องกำหนดสเปคของเมทัลชีทให้เหมาะสมแต่ละส่วนของบ้าน เพื่อให้เกิดการใช้งานที่สอดคล้องกับการอยู่อาศัย
ความหนาของแผ่นเมทัลชีท
แผ่นเหล็กเมทัลชีทที่ขายกันอยู่ในประเทศไทย มีความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.28-0.5 มิลลิเมตร โดยประมาณ ความหนาจะมีผลกับความแข็งแรง ยิ่งหนายิ่งดี แต่ไม่ควรใช้หนาเกินไป เพราะช่างและผู้รับเหมาจะไม่สามารถหาสินค้าได้และทำงานลำบาก เพราะแผ่นเมทัลชีทที่มีความหนา จะป้องกันการยุบตัวได้มากกว่าแผ่นบาง และป้องกันเสียงฝนตกได้เสียงทุ้มกว่าแผ่นบาง ความหนาที่แนะนำสำหรับหลังคาบ้านควรมีความหนาประมาณ 0.35 มิลลิเมตรขึ้นไป หากเป็นสเปคที่สถาปนิกนิยมเลือกใช้ร่วมกับบ้านที่เน้นการออกแบบเป็นพิเศษ จะเลือกความหนาที่ 0.47 มิลลิเมตร ขึ้นไปครับ ส่วนจุดอื่น ๆ เช่น หลังคาซักล้าง หลังคาครัวไทย หลังคาโรงจอดรถ เป็นส่วนที่ไม่มีผลกระทบกับการอยู่อาศัยภายในบ้านมากนัก อาจจะเลือกรุ่นที่มีความหนา 0.3 มิลลิเมตร ขึ้นไปเพื่อลดต้นทุนได้ ความหนาของเมทัลชีทจะมีผลกับระยะแปหลังคา ยิ่งหนามากจะสามารถจัดวางแปในระยะห่างที่มากขึ้น ช่างจึงควรตรวจเช็คความหนาของแผ่นเมทัลชีทให้มีความสัมพันธ์กับระยะแปหลังคา
เมทัลชีทเคลือบสี
แผ่นเมทัลชีทที่ยังไม่ผ่านการเคลือบสีมักจะมีราคาที่ถูกกว่า เหมาะกับการใช้งานอเนกประสงค์ เช่น ทำเป็นรั้วกั้นพื้นที่ , หลังคาส่วนต่อเติม แต่หากนำมาใช้ร่วมกับหลังคาหลักของบ้าน แนะนำว่าควรเลือกชนิดที่ผ่านการเคลือบสี เพราะสีที่เคลือบไม่ได้ช่วยแค่เรื่องความสวยงาม แต่ยังเป็นแผ่นกันความร้อนสำหรับหลังคาได้เป็นอย่างดี สีในปัจจุบันมีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อน ส่งผลให้ปริมาณความร้อนที่ทะลุผ่านหลังคาเมทัลชีทลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้อุณหภูมิของบ้านเย็นกว่า สามารถประหยัดไฟจากเครื่องปรับอากาศได้
ฉนวนกันความร้อนกับเมทัลชีท
ในการใช้เมทัลชีท คือ การติดตั้งเมทัลชีทโดยมีฉนวนกันความร้อน จะช่วยลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านได้ดีขึ้น ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกแบบสำเร็จรูปติดตั้งมาให้พร้อมกับแผ่นเมทัลชีทเลยและแบบพ่นโฟม PU , แบบแผ่นวางใต้ฝ้าเพดาน หรือจะเลือกทำหลายอย่างพร้อมกันก็สามารถทำได้ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนไม่เคียงแต่ทำให้บ้านเย็นสบายขึ้น แต่ยังทำให้ป้องกันเสียงรบกวนได้ดีอีกด้วย ลดความร้อน ลดเสียงรบกวน
แผ่นฉนวนที่ติดมากับเมทัลชีทหลุดทำอย่างไร?
ปัญหาแผ่นฉนวนโฟม PU ที่ติดมากับเมทัลชีทหลุด เกิดขึ้นกับแผ่นเมทัลชีทที่ด้อยคุณภาพ แต่ถ้าหากเป็นแผ่นเมทัลชีทคุณภาพสูงจะไม่ค่อยพบเจอกับปัญหาเหล่านี้ สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากกาวที่ติดฉนวนเสื่อมการใช้งาน หากหลุดร่อนไม่มากนักสามารถซื้อกาวที่ใช้สำหรับติดฉนวน PU มาซ่อมแซมได้ หลังจากซ่อมแซมแล้ว อาจติดตั้งแผ่นฝ้าไว้อีกชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้หลุดมากกว่าเดิม แต่หากว่าการหลุดล่อนเกิดขึ้นมาก จนยากที่จะใช้ของเดิมได้ ให้ทำการกำจัดฉนวนเดิมออกให้หมด และใช้ฉนวนกันร้อนแบบฉีดพ่นแทน การฉีดพ่นจะยึดติดได้ดีกว่าแบบติดกาวมากกว่า
ทีนี้เราก็รู้แล้วว่า เมทัลชีทคืออะไร มีแบบไหน ประเภทไหนบ้าง มีความหนาเท่าไหร่ เราจะได้เลือกใช้งานได้เหมาะสมกับบ้านของเรา และยังมีแบบไม่ต้องยิงสกรูยิงเมทัลชีท ให้เสี่ยงต่อการรั่วซึมอีกด้วย เป็นผมถ้ามีเงินหรือมีเงินทุนมากพอ ผมจะเลือกเอาอย่างที่ดีที่สุด เพราะเราจะได้ใช้เมทัลชีทได้เป็นระยะเวลานาน ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนบ่อย ๆ
สอบถามเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
โทร. 1800-400000 / 036-712222-8
Line@ https://line.me/R/ti/p/%40viriya
Inbox m.me/diamondshutter.vir
https://www.viriyalohakij.co.th