October 6, 2023
เทียบ “ประตูม้วนระบบมือดึง และ ประตูม้วนระบบไฟฟ้า” ต่างกันยังไง ?

เลือกแบบไหนดี ? ตัดสินใจไม่ได้ ดูโพสต์นี้เลย !

เทียบ” ประตูม้วนระบบมือดึง และ ประตูม้วนระบบไฟฟ้า” ต่างกันยังไง ?

ขนาดเท่าไหร่เหมาะกับการใช้งานแบบไหน พร้อมวิธีคำนวนน้ำหนักแบบง่ายๆ

ก่อนติดตั้งประตูม้วน แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกใช้ระบบใด ลองเทียบ ประตูม้วนระบบมือดึง และ ประตูม้วนระบบไฟฟ้า ให้ดูคุณสมบัติกันชัดๆ

  1. ระบบมือดึง-สปริง เป็นประตูม้วนที่ใช้แรงคนในการการเปิด-ปิดประตู โดยมีสปริงช่วยผ่อนแรง มีราคาย่อมเยา แข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ทั่วไปที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก
  2. ระบบรอกโซ่ เป็นประตูม้วนที่ใช้แรงคนในการการเปิด-ปิดประตูเช่นเดียวกับประตูม้วนระบบมือดึง แต่ใช้รอกในการทดน้ำหนักแทน ทำให้ประตูม้วนระบบรอกโซ่สามารถรองรับประตูม้วนที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่าประตูม้วนระบบมือดึงได้

เปรียบเทียบความแตกต่าง ประตูม้วนระบบมือดึง และ ประตูม้วนระบบไฟฟ้า

  • ประตูม้วนระบบมือดึง
    • ทุ่นแรงด้วยระบบ สปริง
    • ความกว้างที่แนะนำ 1-4 เมตร
    • ความสูงที่แนะนำ 1-4 เมตร
    • น้ำหนักไม่ควรเกิน 120 กิโลกรัม
  • ประตูม้วนระบบไฟฟ้า
    • ทุ่นแรงด้วยระบบ มอเตอร์
    • ความกว้างที่แนะนำ 3-15 เมตร
    • ความสูงที่แนะนำ 3-8 เมตร
    • น้ำหนักไม่ควรเกิน 2,000 กิโลกรัม

ประตูม้วนระบบมือดึง หรือ ระบบสปริง

  • เปิด-ปิดด้วยกำลังคนดึง
  • ขนาดไม่เกิน 4 x 4 เมตร
  • กว้างเกิน 4 เมตร แนะนำให้แบ่งประตูออก
  • เหมาะกับใบประตูเบอร์ 22 และ เบอร์ 23
  • นำหนักไม่เกิน 120 กิโลกรัม

 

ประตูม้วนระบบไฟฟ้า

  • เปิด-ปิดด้วยมอเตอร์ระบบไฟฟ้า
  • เหมาะกับขนาดไม่เกิน 15 x 8 เมตร
  • เหมาะกับใบประตูเบอร์ 22 และ เบอร์ 23
  • รับน้ำหนักได้ถึง 2,000 กิโลกรัม
  • มีรอกโซ่ฉุกเฉิน ใช้ในกรณีกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ประตูยังคงเปิด-ปิดได้

การคำนวนน้ำหนัก ประตูม้วนระบบมือดึง และ ประตูม้วนระบบไฟฟ้า

การคำนวนน้ำหนักประตูม้วนระบบมือดึง

น้ำขนาดประตู (ตารางเมตร) x น้ำหนักใบประตู (กิโลกรัม) + น้ำหนักเพลาสปริง,ฐานล่าง (กิโลกรัม)

= น้ำหนักประตูม้วน (กิโลกรัม)

ตัวอย่างที่ขนาดประตูม้วน 3 x 3 เมตร

9 ตารางเมตร x 5 กิโลกรัม + 50 กิโลกรัม

= 95 กิโลกรัม

ข้อแนะนำ : ควรใช้ใบประตูม้วนเบอร์ 23 ที่มีน้ำหนักรวม 5 กิโลกรัม เพื่อให้น้ำหนักพอดีต่อการใช้งาน ที่ใช้แรงคนเปิด-ปิดประตูม้วน

การคำนวนน้ำหนักประตูม้วนระบบไฟฟ้า

น้ำขนาดประตู (ตารางเมตร) x น้ำหนักใบประตู (กิโลกรัม) + น้ำหนักเพลาสปริง,ฐานล่าง (กิโลกรัม)

= น้ำหนักประตูม้วน (กิโลกรัม)

ตัวอย่างที่ขนาดประตูม้วน 3 x 3 เมตร

9 ตารางเมตร x 6 กิโลกรัม + 50 กิโลกรัม

= 104 กิโลกรัม

ข้อแนะนำ : ควรใช้ใบประตูม้วนเบอร์ 22 ที่มีน้ำหนักรวม 5 กิโลกรัม และ มอเตอร์ขนาด 300 KG เพื่อให้น้ำหนักประตูพอดีต่อการใช้งาน

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/525004527648664/posts/pfbid035iLmLNxthoaAWbXHmSXAuh6u36mME2UMKdjhoYcox1wrWEYtwccmY4vpZLSHWB8el/?mibextid=kdkkhi

 

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อได้ที่

โทร. 1800-400000 / 036-712222-8
Line Official : @VIRIYA หรือ https://line.me/R/ti/p/%40viriya

ข่าวและบทความอื่นๆ


PROMOTE หน้าที่ดูแลร้านคุณตอนกลางคืน มอบให้
PROMOTE หน้าที่ดูแลร้านคุณตอนกลางคืน มอบให้
REVIEW ประตูม้วน หมู่บ้านเอื้ออาทร อยุธยา ,บริษัท นีโอ ลาดพร้าว
REVIEW ประตูม้วน หมู่บ้านเอื้ออาทร อยุธยา ,บริษัท นีโอ ลาดพร้าว
มาตรการ เพื่อลดความเสี่ยง covid-19
มาตรการ เพื่อลดความเสี่ยง covid-19
หากคิดจะติดตั้งควรรู้ ประตูม้วนมีกี่แบบ ระบบประตูม้วนดูยังไง